Premium Grade Hom Mali Rice

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2567

ธุรกิจคืออะไร ในสายตาของ Peter Drucker

 ธุรกิจคืออะไร ในสายตาของ Peter Drucker 

        ธุรกิจเมื่อมองในมุมมองของนักธุรกิจก็ดี หรือนักเศรษฐศาสตร์ หรือคนทั่วไปก็ดี ย่อมมองว่าธุรกิจคือองค์กรที่แสวงหากำไรสูงสุด แต่สำหรับ Peter Drucker แล้วกลับมองแตกต่างออกไป Drucker มองว่าธุรกิจเป็นองค์กรหนึ่งในสังคม เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคมต้องมีหน้าที่ต้องตอบสนองคนในสังคม เปรียบเสมือนอวัยวะหนึ่งร่างกายของคนเรา ที่ต่างต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อร่างกาย ดังนั้น ธุรกิจจึงหมายถึงองค์กรที่ตอบสนองความต้องการของสังคม หรือพูดง่ายๆก็คือ ตอบโจทย์ของลูกค้านั่นเอง เพราะหากตั้งเป้าที่จะแสวงหากำไร จะทำให้การดำเนินธุรกิจไปผิดทิศผิดทาง เพราะอาจจะผลิตสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า สะเปะสะปะ จับจุดไม่ถูก สุดท้ายก็ต้องปิดตัวลงในท้ายที่สุด

Photo by GR Stocks on Unsplash

        Peter Drucker เป็นปรมาจารย์ด้านการบริหารจัดการยุคใหม่ ผู้ก่อตั้ง Drucker School of Management ที่Claremont Graduate University รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา Drucker กล่าวว่า ความหิว ไม่ถือเป็นความต้องการซื้อหรือ Demand และคนหิวก็ไม่ใช่ลูกค้า แต่เป็นหน้าที่ของธุรกิจที่ต้องนำเสนอเมนูอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการนั้น หากตอบโจทย์คนหิวได้ พวกเขาก็จะกลายเป็นลูกค้า ธุรกิจจึงได้รับกำไรเป็นค่าตอบแทน ดังนั้นธุรกิจต้องสร้างลูกค้า หรือ Create Customer และลูกค้านั่นเองจะเป็นตัวกำหนดว่าธุรกิจควรจะดำเนินงานอย่างไร

                                     Photo by Nathan Dumlao on Unsplash

        Drucker กล่าวว่าการทำธุรกิจนั้นมีหน้าที่อยู่ 2 อย่างคือ การตลาด (Marketing) และ นวัตกรรม (Innovation) การตลาดก็คือการทำความเข้าใจลูกค้าเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น ตลาดรถยนต์ ลูกค้าบางกลุ่มมองว่ารถยนต์คือพาหนะชนิดหนึ่งใช้ในการเดินทาง แต่ลูกค้าบางกลุ่มมองว่ารถยนต์บ่งบอกสถานะทางสังคม ดังนั้นเมื่อทราบว่าลูกค้าต้องการรถยนต์แบบไหน และจะใช้ไปทำอะไร การผลิตรถยนต์ วัสดุ การสื่อสาร และราคา ก็จะเป็นไปเพื่อตอบสนองลูกค้าในกลุ่มนั้นๆ 

        นวัตกรรมนั้น Drucker มองว่าคือการเปลี่ยนความต้องการสังคมเป็นโอกาสทางธุรกิจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ iPad แรงบันดาลใจในการสร้าง iPad ของ Steve Jobs ก็คือต้องการหาอะไรทำเพื่อฆ่าเวลาขณะรอรถเมล์ ซึ่งไม่ว่าใครก็ล้วนอยากหาอะไรฆ่าเวลากับการรอคอยที่น่าเบื่อ เมื่อ Steve Jobs มองเห็นและตอบโจทย์ได้ ก็กลายเป็นผู้สร้างนวัตกรรมใหม่ อย่างไรก็ตามนวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นของใหม่หรือเป็นสินค้าเทคโนโลยีเสมอไป เพียงแค่ทำให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกขึ้น พึงพอใจมากขึ้นก็ถือเป็นนวัตกรรมได้เช่นกัน เช่น ขายตู้เย็นให้ชาวเอสกิโม ตู้เย็นไม่ใช่สินค้าใหม่ แต่เปลี่ยนประโยชน์การใช้ ชาวเอสกิโมใช้ชีวิตในภูมิอากาศที่เย็นจัด ทำให้ผักผลไม้เสียหายจากอากาศที่เย็นจัด หากเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อรักษาอุณหภูมิได้ ก็ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้น

 
สนับสนุนบทความโดยข้าวหอมมะลิ ตรามงกุฎคู่ 
สามารสั่งทาง shopee ได้แล้ววันนี้
ข้าวหอมมะลิ 5 กก.
ข้ามหอมมะลิ 1 กก.
ข้าวกล้อง 1 กก.
ข้าวไรซ์เบอร์รี่


 References 

Drucker, P.F. (2001). The Essential Drucker. New York,NY: HarperCollins Publishers.

 

McGuire, S.J.J (2008). Note on Analysis of Sustainable Competitive Advantage: The SWOT Analysis and VRIO Framework. California State University, Los Angeles (revised April 15, 2008)

Kawasaki, G. (2011). Enchantment: the art of changing hearts, minds, and actions. New York, Portfolio/Penguin