Rurbanomics วิถีใหม่แห่งการพัฒนา
Rurbanomics คือการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมชนบทให้เชื่อมโยงกับการเติบโตของสังคมเมือง ในฐานะที่เป็นพาร์ทเนอร์ที่เท่าเทียมและพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งแนวทางการพัฒนาตามวิถี Rurbanomics แบ่งออกเป็น 4 ด้าน
1. เอาใจใส่ความต้องการของสังคมชนบท
2. พัฒนาทรัพยากรท้องถิ่น และสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงสังคมชนบทกับสังคมโลก โดยอยู่บนหลักการของความหลากหลายและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
3. เชื่อมโยงโอกาสของสังคมชนบทกับสังคมโลก
4. กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และส่งเสริมธรรมาภิบาลในสังคมชนบท
Rurbanomics เป็นแนวทางการพัฒนาสังคมชนบทในหลากหลายมิติ ไม่เพียงจำเพาะแค่ภาคการเกษตรเท่านั้น จากรายงานของ The International Food Policy Research Institute (IFPRI) ชี้ว่าการพัฒนาภาคเกษตรยังส่งผลให้เกิดการเติบโตของกิจกรรมนอกภาคเกษตรได้ด้วย เนื่องจากการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อส่งไปขายในเมือง ก็ต้องอาศัยการพัฒนาระบบขนส่ง คลังสินค้าและการจัดเก็บ การค้าปลีกและการค้าส่ง การบริการทางการเงิน ตลอดทั้งการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน ทำให้สังคมชนบทขยายจากภาคเกษตร สู่ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับรายได้ของประชากรในชนบทในที่สุด
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาในสังคมชนบทยังต้องอาศัยการพัฒนาอีกมาก โดยเฉพาะการลงทุนด้านนวัตกรรม การวิจัยและการพัฒนา เพื่อให้การผลิตในภาคการเกษตรน่าสนใจและดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ทำงานในชนบท เพื่อลดความแออัดในสังคมเมือง นอกจากนั้นยังต้องพัฒนาระบบชลประทานเพื่อลดความเสียหายอันเกิดจากภัยธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศเอธิโอเปีย เคนยา และไนเจอร์ ลงทุนก่อสร้างระบบชลประทาน ส่งผลให้ประชากรในภาคการเกษตรมีช่วงเวลาในการทำการเกษตรที่ยาวนานขึ้น เพราะมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ และยังเพิ่มความหลากหลายของพืชเศรษฐกิจ และลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติอีกด้วย
กิจกรรมนอกภาคการเกษตรก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะเป็นกิจกรรมที่จะดึงให้คนยากจนในชนบทยกฐานะให้หลุดพ้นจากความยากจนไปได้ เช่น ในประเทศปากีสถาน พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของงานนอกภาคการเกษตรช่วยสร้างงานให้กับแรงงานในพื้่นที่ชนบท อีกตัวอย่างคือประเทศจีน ที่ยกระดับประชากรกว่า 223 ล้านคนที่ทำงานในภาคการเกษตรในพื้นทีชนบท ให้มาทำงานในกิจกรรมนอกภาคการเกษตร พบว่ามีประชากร 23 ล้านคนเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถสร้างงานให้กับประชากรอีก 119 ล้านคนได้ ซึ่งประชากรในกลุ่มนี้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกถึง 40% ของมูลค่าทั้งหมด
ถึงแม้ว่าจะมีการเติบโตของกิจกรรมนอกภาคการเกษตร แต่ช่องว่างของรายได้ระหว่างภาคชนบทและภาคตัวเมืองก็ยังห่างกันมาก รัฐบาลจีนจึงออกนโยบายยกระดับภาคชนบทโดยการลงทุนในสาธารณูปโภค เทคโนโลยี และนวัตกรรม การบริการสาธารณะ เช่น การศึกษาและสาธารณสุข และปฏิรูปธรรมาภิบาลของท้องถิ่น ซึ่งเป็นวิถีใหม่แห่งการพัฒนาสังคมชนบทที่ถูกละเลยมานาน
References
Steiner, A. and Fan, S. (2019). Rural Revitalization Tapping into New Opportunity. Retrieved from https://www.ifpri.org/publication/2019-global-food-policy-report 26 June 2020
Fan, S. and Badiane, O. (2019). Rurbanomics: The Path to Rural Revitalization in Africa. Retrieved from https://www.ifpri.org/blog/rurbanomics-path-rural-revitalization-africa 26 June 2020
1. เอาใจใส่ความต้องการของสังคมชนบท
2. พัฒนาทรัพยากรท้องถิ่น และสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงสังคมชนบทกับสังคมโลก โดยอยู่บนหลักการของความหลากหลายและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
3. เชื่อมโยงโอกาสของสังคมชนบทกับสังคมโลก
4. กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และส่งเสริมธรรมาภิบาลในสังคมชนบท
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาในสังคมชนบทยังต้องอาศัยการพัฒนาอีกมาก โดยเฉพาะการลงทุนด้านนวัตกรรม การวิจัยและการพัฒนา เพื่อให้การผลิตในภาคการเกษตรน่าสนใจและดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ทำงานในชนบท เพื่อลดความแออัดในสังคมเมือง นอกจากนั้นยังต้องพัฒนาระบบชลประทานเพื่อลดความเสียหายอันเกิดจากภัยธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศเอธิโอเปีย เคนยา และไนเจอร์ ลงทุนก่อสร้างระบบชลประทาน ส่งผลให้ประชากรในภาคการเกษตรมีช่วงเวลาในการทำการเกษตรที่ยาวนานขึ้น เพราะมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ และยังเพิ่มความหลากหลายของพืชเศรษฐกิจ และลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติอีกด้วย
กิจกรรมนอกภาคการเกษตรก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะเป็นกิจกรรมที่จะดึงให้คนยากจนในชนบทยกฐานะให้หลุดพ้นจากความยากจนไปได้ เช่น ในประเทศปากีสถาน พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของงานนอกภาคการเกษตรช่วยสร้างงานให้กับแรงงานในพื้่นที่ชนบท อีกตัวอย่างคือประเทศจีน ที่ยกระดับประชากรกว่า 223 ล้านคนที่ทำงานในภาคการเกษตรในพื้นทีชนบท ให้มาทำงานในกิจกรรมนอกภาคการเกษตร พบว่ามีประชากร 23 ล้านคนเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถสร้างงานให้กับประชากรอีก 119 ล้านคนได้ ซึ่งประชากรในกลุ่มนี้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกถึง 40% ของมูลค่าทั้งหมด
ถึงแม้ว่าจะมีการเติบโตของกิจกรรมนอกภาคการเกษตร แต่ช่องว่างของรายได้ระหว่างภาคชนบทและภาคตัวเมืองก็ยังห่างกันมาก รัฐบาลจีนจึงออกนโยบายยกระดับภาคชนบทโดยการลงทุนในสาธารณูปโภค เทคโนโลยี และนวัตกรรม การบริการสาธารณะ เช่น การศึกษาและสาธารณสุข และปฏิรูปธรรมาภิบาลของท้องถิ่น ซึ่งเป็นวิถีใหม่แห่งการพัฒนาสังคมชนบทที่ถูกละเลยมานาน
References
Steiner, A. and Fan, S. (2019). Rural Revitalization Tapping into New Opportunity. Retrieved from https://www.ifpri.org/publication/2019-global-food-policy-report 26 June 2020
Fan, S. and Badiane, O. (2019). Rurbanomics: The Path to Rural Revitalization in Africa. Retrieved from https://www.ifpri.org/blog/rurbanomics-path-rural-revitalization-africa 26 June 2020