Rurbanomics การพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน
รายงานของ The International Food Policy Research Institute (IFPRI) ระบุว่าภาคในเมืองมีการเติบโต ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโลกอาศัยอยู่ในตัวเมือง ในขณะที่ ภายในปี 2050 ประชากรกว่า 2 ใน 3 ของทั้งโลกจะกลายเป็นคนเมือง สวนทางกับภาคชนบทที่ปัจจุบันนี้มีประชากรประมาณ 45.3% ของประชากรทั้งโลกอาศัยอยู่ในภาคชนบท ซึ่งในจำนวนนี้มีประชากรมากถึง 70% ที่อยู่ในสถานะยากจนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสาเหตุแห่งความยากจนเกิดจาก ภาวะการว่างงาน การขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐาน การเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ขาดบริการด้านการศึกษาและสาธารณสุขที่มีคุณภาพ และภาวะโลกร้อนซึ่งทำให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย จึงทำให้กลุ่มคนยากจนเหล่านี้ ยากยิ่งที่จะลืมตาอ้าปาก
ในทศวรรษ 1990 ธนาคารโลกออกมายอมรับว่าภาคชนบทได้รับการละเลยในการพัฒนามานานหลายทศวรรษ ถึงเวลาที่ต้องฟื้นฟูภาคชนบทแล้ว โดยตั้งอยู่บนโจทย์ที่ว่า ทำอย่างไรภาคชนบทจะได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของภาคตัวเมือง
Achim Steiner และ Shenggen Fan เล็งเห็นความเชื่อมโยงระหว่างภาคตัวเมืองและภาคชนบทว่า การที่ตัวเมืองขยายตัวนั้นย่อมมาคู่กับความต้องการด้านอาหารที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย ประชากรในเมืองต้องการความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัย และความยั่งยืน ในขณะที่ภาคชนบทต้องการโอกาสในการพัฒนา จึงเกิดแนวคิด Rurbanomics ซึ่งเกิดจากการผสมผสานระหว่าง Rural (ภาคชนบท) Urban (ภาคตัวเมือง) Economics (เศรษฐศาสตร์)
กล่าวคือ Rurbanomics คือการพัฒนาเศรษฐกิจโดยอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาอาศัยกันของภาคตัวเมืองและภาคชนบท ซึ่งการเชื่อมโยงดังกล่าวจะทำให้เกิดการพัฒนา การสร้างงาน และสร้างความหลากหลายในการประกอบอาชีพทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรในชนบท ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้และพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในชนบทได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น ซึ่งเชื่อว่าประชากรในภาคชนบทจะได้รับประโยชน์ที่มากขึ้นจากการขยายตัวของภาคตัวเมือง
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเซเนกัล ทวีปแอฟริกา ในขณะที่ภาคตัวเมืองเติบโตมากขึ้น พฤติกรรมของประชากรในตัวเมืองก็เปลี่ยนแปลงไป ชีวิตที่ต้องเร่งรีบ จึงนำมาสู่ความต้องการอาหารที่รีบเร่ง อาหารประเภท Ready-to-Cook หรือ Ready-to-Eat หรืออาหารสำเร็จรูปประเภทพร้อมรับประทาน จึงมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นโอกาสสำหรับภาคชนบทที่ต้องพัฒนากระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน ที่จะต้องผลิตอาหารที่พร้อมรับประทาน ไม่เพียงแค่ผลิตวัตถุดิบเท่านั้น จากการพัฒนาดังกล่าวจะทำให้เกิดความหลากหลายในการสร้างงานและสร้างอาชีพ ประชากรในชนบทไม่จำเป็นต้องอพยพเข้าไปหางานทำในตัวเมือง Rurbanomics จึงเป็นแนวทางในการยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในชนบท
References
Steiner, A. and Fan, S. (2019). Rural Revitalization Tapping into New Opportunity. Retrieved from https://www.ifpri.org/publication/2019-global-food-policy-report 26 June 2020
Fan, S. and Badiane, O. (2019). Rurbanomics: The Path to Rural Revitalization in Africa. Retrieved from https://www.ifpri.org/blog/rurbanomics-path-rural-revitalization-africa 26 June 2020
กล่าวคือ Rurbanomics คือการพัฒนาเศรษฐกิจโดยอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาอาศัยกันของภาคตัวเมืองและภาคชนบท ซึ่งการเชื่อมโยงดังกล่าวจะทำให้เกิดการพัฒนา การสร้างงาน และสร้างความหลากหลายในการประกอบอาชีพทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรในชนบท ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้และพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในชนบทได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น ซึ่งเชื่อว่าประชากรในภาคชนบทจะได้รับประโยชน์ที่มากขึ้นจากการขยายตัวของภาคตัวเมือง
References
Steiner, A. and Fan, S. (2019). Rural Revitalization Tapping into New Opportunity. Retrieved from https://www.ifpri.org/publication/2019-global-food-policy-report 26 June 2020
Fan, S. and Badiane, O. (2019). Rurbanomics: The Path to Rural Revitalization in Africa. Retrieved from https://www.ifpri.org/blog/rurbanomics-path-rural-revitalization-africa 26 June 2020