Premium Grade Hom Mali Rice

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563

บทเรียนจาก Rurbanomics


บทเรียนจาก Rurbanomics
   
       การฟื้นฟูสังคมชนบทต้องเข้าใจปัญหาของแต่ละพื้นที่ แต่ละชุมชนมีความต้องการที่แตกต่างกัน จึงต้องการการพัฒนาที่ต่างกันด้วย อาทิเช่น ในทวีปแอฟริกาต้องการพัฒนาด้านเกษตรกรรม ในเอเชียใต้ต้องกระจายความเจริญสู่ชนบท เพื่อเพิ่มการจ้างงานในชนบทและลดการอพยพเข้าเมือง สำหรับจีนนั้นต้องปรับปรุงการพัฒนาชนบทเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมชนบทเพื่อดึงดูดให้คนหนุ่มสาวทำงานในชนบท แทนการอพยพเข้าเมืองใหญ่ การฟื้นฟูสังคมชนบทตามแนวทาง Rurbanomics นั้นพัฒนาในหลายมิติ อย่างเช่น


      1. สร้างความเชื่อมโยงระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบทอย่างเข้มแข็ง โดยการปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานอาหารทั้งกระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การตลาด การบริการ และสร้างโอกาสใหม่ๆในการทำงานให้กับแรงงานในพื้นที่ชนบท และต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปแบบยั่งยืน หัวใจสำคัญของ Rurbanomics ก็คือสังคมเมืองและสังคมชนบทต้องเป็นพาร์ทเนอร์กันอย่างเท่าเทียม

       2. Rurbanomics ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านเกษตรกรรมเป็นรากฐาน แต่ก็ไม่ละเลยกิจกรรมนอกภาคเกษตร เพราะการเติบโตของภาคการเกษตรจะทำให้ภาคส่วนอื่นเติบโตตามไปด้วย เช่น ภาคอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป การขนส่ง การบริการทางการเงิน และการบ่มเพาะผู้ประกอบการ

       3. องค์กรท้องถิ่นต้องมีธรรมาภิบาลตรวจสอบได้ มีรายได้ที่เพียงพอในการจัดการท้องถิ่นของตนเอง ประชาชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนท้องถิ่นของตนเอง

      Rurbanomics จึงเป็นอีกแนวทางในการพัฒนาชนบทในประเทศไทย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ





References 
  Steiner, A. and Fan, S. (2019). Rural Revitalization Tapping into New Opportunity. Retrieved from https://www.ifpri.org/publication/2019-global-food-policy-report 26 June 2020