KIT UDOM RICE

Premium Quality Rice from Ubon Ratchathani, Thailand.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

KD Rice Intertrade

Premium Grade Hom Mali Rice

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2567

ธุรกิจคืออะไร ในสายตาของ Peter Drucker

 ธุรกิจคืออะไร ในสายตาของ Peter Drucker 

        ธุรกิจเมื่อมองในมุมมองของนักธุรกิจก็ดี หรือนักเศรษฐศาสตร์ หรือคนทั่วไปก็ดี ย่อมมองว่าธุรกิจคือองค์กรที่แสวงหากำไรสูงสุด แต่สำหรับ Peter Drucker แล้วกลับมองแตกต่างออกไป Drucker มองว่าธุรกิจเป็นองค์กรหนึ่งในสังคม เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคมต้องมีหน้าที่ต้องตอบสนองคนในสังคม เปรียบเสมือนอวัยวะหนึ่งร่างกายของคนเรา ที่ต่างต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อร่างกาย ดังนั้น ธุรกิจจึงหมายถึงองค์กรที่ตอบสนองความต้องการของสังคม หรือพูดง่ายๆก็คือ ตอบโจทย์ของลูกค้านั่นเอง เพราะหากตั้งเป้าที่จะแสวงหากำไร จะทำให้การดำเนินธุรกิจไปผิดทิศผิดทาง เพราะอาจจะผลิตสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า สะเปะสะปะ จับจุดไม่ถูก สุดท้ายก็ต้องปิดตัวลงในท้ายที่สุด

Photo by GR Stocks on Unsplash

        Peter Drucker เป็นปรมาจารย์ด้านการบริหารจัดการยุคใหม่ ผู้ก่อตั้ง Drucker School of Management ที่Claremont Graduate University รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา Drucker กล่าวว่า ความหิว ไม่ถือเป็นความต้องการซื้อหรือ Demand และคนหิวก็ไม่ใช่ลูกค้า แต่เป็นหน้าที่ของธุรกิจที่ต้องนำเสนอเมนูอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการนั้น หากตอบโจทย์คนหิวได้ พวกเขาก็จะกลายเป็นลูกค้า ธุรกิจจึงได้รับกำไรเป็นค่าตอบแทน ดังนั้นธุรกิจต้องสร้างลูกค้า หรือ Create Customer และลูกค้านั่นเองจะเป็นตัวกำหนดว่าธุรกิจควรจะดำเนินงานอย่างไร

                                     Photo by Nathan Dumlao on Unsplash

        Drucker กล่าวว่าการทำธุรกิจนั้นมีหน้าที่อยู่ 2 อย่างคือ การตลาด (Marketing) และ นวัตกรรม (Innovation) การตลาดก็คือการทำความเข้าใจลูกค้าเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น ตลาดรถยนต์ ลูกค้าบางกลุ่มมองว่ารถยนต์คือพาหนะชนิดหนึ่งใช้ในการเดินทาง แต่ลูกค้าบางกลุ่มมองว่ารถยนต์บ่งบอกสถานะทางสังคม ดังนั้นเมื่อทราบว่าลูกค้าต้องการรถยนต์แบบไหน และจะใช้ไปทำอะไร การผลิตรถยนต์ วัสดุ การสื่อสาร และราคา ก็จะเป็นไปเพื่อตอบสนองลูกค้าในกลุ่มนั้นๆ 

        นวัตกรรมนั้น Drucker มองว่าคือการเปลี่ยนความต้องการสังคมเป็นโอกาสทางธุรกิจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ iPad แรงบันดาลใจในการสร้าง iPad ของ Steve Jobs ก็คือต้องการหาอะไรทำเพื่อฆ่าเวลาขณะรอรถเมล์ ซึ่งไม่ว่าใครก็ล้วนอยากหาอะไรฆ่าเวลากับการรอคอยที่น่าเบื่อ เมื่อ Steve Jobs มองเห็นและตอบโจทย์ได้ ก็กลายเป็นผู้สร้างนวัตกรรมใหม่ อย่างไรก็ตามนวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นของใหม่หรือเป็นสินค้าเทคโนโลยีเสมอไป เพียงแค่ทำให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกขึ้น พึงพอใจมากขึ้นก็ถือเป็นนวัตกรรมได้เช่นกัน เช่น ขายตู้เย็นให้ชาวเอสกิโม ตู้เย็นไม่ใช่สินค้าใหม่ แต่เปลี่ยนประโยชน์การใช้ ชาวเอสกิโมใช้ชีวิตในภูมิอากาศที่เย็นจัด ทำให้ผักผลไม้เสียหายจากอากาศที่เย็นจัด หากเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อรักษาอุณหภูมิได้ ก็ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้น

 
สนับสนุนบทความโดยข้าวหอมมะลิ ตรามงกุฎคู่ 
สามารสั่งทาง shopee ได้แล้ววันนี้
ข้าวหอมมะลิ 5 กก.
ข้ามหอมมะลิ 1 กก.
ข้าวกล้อง 1 กก.
ข้าวไรซ์เบอร์รี่


 References 

Drucker, P.F. (2001). The Essential Drucker. New York,NY: HarperCollins Publishers.

 

McGuire, S.J.J (2008). Note on Analysis of Sustainable Competitive Advantage: The SWOT Analysis and VRIO Framework. California State University, Los Angeles (revised April 15, 2008)

Kawasaki, G. (2011). Enchantment: the art of changing hearts, minds, and actions. New York, Portfolio/Penguin

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564

โครงการข้าวยั่งยืน เพื่อเกษตรกร

 โครงการข้าวยั่งยืน เพื่อเกษตรกร

         โครงการข้าวยั่งยืน เกิดจากความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมันหรือ GIZ เข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรในประเทศไทยปลูกข้าว เพื่อลดโลกร้อน คำนึงถึงความสมดุลของระบบนิเวศ ผมได้มีโอกาสลงพื้นที่พร้อมกับทีมงานโครงการข้าวยั่งยืนหลายครั้ง เห็นความตั้งใจจริงของทีมงานเป็นอย่างมากที่ทุ่มเทและเสียสละเพื่อเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งการฝึกอบรม การให้ความรู้ หาตลาด และมีเงินโบนัสช่วยเหลือเกษตรกรอีกด้วย 

            โครงการข้าวยั่งยืนเข้ามาพัฒนาเกษตรกรใน 3 มิติ ประกอบด้วย เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 

      • ด้านเศรษฐกิจ สมาชิกโครงการข้าวยั่งยืน หลังจากขายข้าวแล้ว หากข้าวมีคุณภาพที่ดี รักษาความบริสุทธิ์ของข้าวหอมมะลิ ทางโครงการจะมีเงินโบนัสเพื่อช่วยยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร 
      • ด้านสิ่งแวดล้อม โครงการข้าวยั่งยืนจะมีทีมวิทยากรลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกร ใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน อยู่บนพื้นฐานทางวิชาการ ใช้เทคนิคการตัดข้าวพร้อมกับตัดหญ้า เพื่อลดการใช้ยาปราบวัชพืช นอกจากจะรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกรอีกด้วย 
      • ด้านสังคม โครงการข้าวยั่งยืนยังช่วยเกษตรกรหาตลาด ส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รับประทานข้าวปลอดภัย นับว่าได้ประโยชน์ทั้งเกษตรกรจนถึงผู้บริโภค 

           ทีมงานข้าวยั่งยืนยังพบปัญหาว่า เกษตรกรในพื้นที่หลายคนยังใช้ปุ๋ยไม่ถูกวิธี ยิ่งใส่เยอะยิ่งได้ผลผลิตดี หรือเลือกซื้อปุ๋ยจากราคาที่ถูกเป็นหลัก โดยไม่รู้ว่าปุ๋ยชนิดนั้นไม่เหมาะกับดิน หรือซื้อปุ๋ยตามกระแสหรือตามคำแนะนำของคนขายปุ๋ย จึงทำให้ใช้ปุ๋ยอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เกิดเป็นต้นทุนอย่างไม่จำเป็น คุณพ่อมนตรี วิทยากรของโครงการจึงให้ความรู้กับเกษตรกร แนะนำให้ซื้อแม่ปุ๋ยคือปุ๋ยยูเรีย ฟอสฟอรัส และโพแทสซียม มาผสมใช้เอง นอกจากจะมีต้นทุนที่ถูกแล้ว ยังผสมปุ๋ยได้สัดส่วนและเหมาะสมกับสภาพดิน

           สูตรปุ๋ยที่ทีมงานข้าวยั่งยืนแนะนำให้ใช้คือ ปุ๋ยยูเรีย 2 กระสอบ ปุ๋ยโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส อย่างละ 1 กระสอบต่อข้าว 10 ไร่ โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรียทีมงานข้าวยั่งยืนแนะนำว่า ไม่ควรใช้เยอะเกินไป ข้าวก็เหมือนกับคน กินอิ่มแล้วก็พอ ถึงแม้จะใช้เยอะก็ไม่ใช่ว่าผลผลิตจะดี นอกจากจะเกิดต้นทุนโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังทำให้ข้าวตายหรือเกิดโรค เกิดเชื้อราได้อีกด้วย ในขณะที่โพแทสเซียมและฟอสฟอรัส ละลายช้ากว่าปุ๋ยยูเรีย ไม่ต้องใส่เยอะก็ได้

           ทีมงานโครงการข้าวยั่งยืน ลงพื้นที่จริง จึงรับรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงของเกษตรกร และลงไปแก้ปัญหาถึงในพื้นที่ มีปัจจัยการผลิตเช่น เครื่องหยอดข้าว ส่งเสริมให้เกษตรกรทำนาหยอด ซึ่งได้ผลผลิตที่ดีกว่านาหว่าน และไม่ใช้แรงงานเยอะเหมือนนาดำ โครงการข้าวยั่งยืนจึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์สำหรับภาคเกษตรกรรมของไทย


 

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

หูเย่าปังกับวิกฤติเทียนอันเหมิน

 หูเย่าปังกับวิกฤติเทียนอันเหมิน

         หูเย่าปัง เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของจีนระหว่างปี 1980-1987 แต่ดูเหมือนว่าตลอดการดำรงตำแหน่งในฐานะเลขาธิการพรรคของหูเย่าปังนั้นจะไม่ราบรื่นนัก โดยเฉพาะความขัดแย้งกับเติ้งเสี่ยวผิง ที่นับวันจะขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวมาจากประเด็นเรื่องหลักการเสรีนิยม เติ้งเสี่ยวผิงยึดมั่นในหลักการ 4 ประการ (The Four Cardinal Principles) ประกอบด้วย     

  • เดินตามแนวทางสังคมนิยม (the socialist path) 
  • เผด็จการโดยประชาชน (the people's democratic dictatorship) 
  • มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้นำ (the leadership of the Communist Party) 
  • เดินตามแนวคิดมาร์กซ์ เลนิน และเหมาเจ๋อตุง (Marxist-Leninist-Mao Ze-dong thought) 

 
        ในช่วงทศวรรษ 1980 กระแสแห่งประชาธิปไตยเบ่งบานแนวคิดเสรีนิยมก็เบ่งบานในจีนเช่นกัน เติ้งเสี่ยวผิงมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง จึงนำมาสู่นโยบายการต่อต้านแนวคิดมลภาวะ (Anti-Spiritual Pollution Campaign) นี่จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นความขัดแย้งทางความคิดระหว่างหูเย่าปังและเติ้งเสี่ยวผิง ในขณะที่ต่างประเทศมีความกังวลต่อจีนเกี่ยวกันนโยบายดังกล่าว เจ้าจื่อหยาง เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกา เพื่ออธิบายนโยบายดังกล่าวว่า จะไม่ถูกนำมาใช้ในด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรรม และวิถีชีวิต จึงคลายความกังวลในสายตาของต่างประเทศได้บ้าง 

          ในขณะที่หูเย่าปังมีความกังวลว่านโยบายดังกล่าวจะสร้างความไม่พอใจในหมู่ปัญญาชนและต่างประเทศ และกล่าวกับตัวแทนจากญี่ปุ่นว่านโยบายดังกล่าวไม่ความเหมาะสม นอกจากนั้นหูเย่าปังยังไม่ดำเนินมาตรการอย่างเด็ดขาดกับหวังรั่วสุย (Wang Ruoshui) กัวหลัวจี้ (Guo Luoji) นักวิชาการเสรีนิยม และ หูจี๋เว่ย (Hu Jiwei) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ People's Daily ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับเติ้งเสี่ยวผิงเป็นอันมาก เพราะเติ้งเสี่ยวผิงมองว่า กระแสเสรีนิยมเริ่มรุนแรงขึ้นในจีนเพราะความอ่อนแอของหูเย่าปัง ความไม่พอใจของเติ้งเสี่ยงผิงเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหูเย่าปังให้สัมภาษณ์กับลู่เคิง บรรณาธิการนิตยสารไป๋ซิ่ง (Ordinary People) ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับพรรคคอมมิวนิสต์ หนึ่งในบทสัมภาษณ์ลู่เคิงถามหูเย่าปังว่า ทำไมไม่คุมอำนาจกองทัพแทนเติ้งเสี่ยวผิง หูเย่าปังตอบปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่าเพียงแค่งานด้านเศรษฐกิจก็ยุ่งมากพอแล้ว  นอกจากนั้นบางช่วงบางตอนลู่เคิงเองก็วิพากษ์วิจารณ์ผู้ใหญ่ในพรรคคอมมิวนิสต์หลายคน เช่น เฉินหยุน และ หวังเจิ้น แต่การสัมภาษณ์ในครั้งนั้นกับสร้างความหวาดระแวงของเติ้งเสี่ยวผิงที่มีในตัวหูเย่าปังเพิ่มมากขึ้น 


         และฟางเส้นสุดท้ายก็คือเหตุการณ์ประท้วงของนักศึกษาในเดือนตุลาคม 1986 ซึ่งเติ้งเสี่ยวผิงมองว่าเป็นความผิดของหูเย่าปังที่ไม่ขจัดขัดขว้างขบวนการเสรีนิยมตั้งแต่ต้น หูเย่าปังยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในวันที่ 4 มกราคม 1987 จากนั้นจึงมีการตั้งกรรมการสอบความผิดของหูเย่าปัง โดยหนึ่งในผู้กล่าวโทษหูเย่าปังก็คือ หยูชิวหลี่ หนึ่งในผู้ใกล้ชิดหูเย่าปัง ซึ่งสร้างความประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งว่า เหตุใดคนที่ทำงานใกล้ชิดหูเย่าปัง กลับกล่าวโทษหูเย่าปังอย่างรุนแรง เป็นที่คาดการณ์กันว่า หยูชิวหลี่ คงอยากสลัดภาพผู้ใกล้ชิดออกไป ไม่อยากรับเคราะห์ตามหูเย่าปังไปด้วย 

          วันที่ 15 เมษายน 1989 หูเย่าปังถึงแก่อนิจกรรม นักศึกษานับพันร่วมชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อเป็นการไว้อาลัยแด่การจากไปของหูเย่าปัง แต่การชุมนุมยืดเยื้อบานปลายจนกลายเป็นการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมือง แก้ปัญหาการทุจริต เรียกร้องประชาธิปไตย และมีบางส่วนที่หัวรุนแรงต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์ เจ้าจื่อหยางขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ดำเนินการให้มีการประนีประนอมจากหลายฝ่าย แต่ท้ายที่สุดเหตุการณ์การนองเลือดก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ กลายเป็นจุดด่างพร้อยในประวัติศาสตร์จีน 

สนับสนุนบทความโดยข้าวหอมมะลิตรามงกุฎคู่ 

สามารสั่งทาง shopee ได้แล้ววันนี้
ข้าวหอมมะลิ 5 กก.
ข้ามหอมมะลิ 1 กก.
ข้าวกล้อง 1 กก.
ข้าวไรซ์เบอร์รี่

Reference 

Pu, B., Chiang, R., and Ignatius, A. (2009). Prisoner of the State the Secret Journal of Premier Zhao Ziyang. Simon & Schuster;New York 


    

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564

ยืนหยัดอย่างยั่งยืน

 ยืนหยัดอย่างยั่งยืน 

        หลายวันมานี้ทีมงานข้าวยั่งยืนลงพื้นที่ให้ความรู้กับเกษตรกร ในหลายหมู่บ้านในอำเภอตระการพืชผล การลงพื้นที่ในครั้งนี้ผมรู้สึกขอบคุณทีมงามข้าวยั่งยืนที่ทำงานอย่างขยันขันแข็ง เพื่อคนในพื้นที่และแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรอย่างแท้จริง  ทำให้ผมได้รับความรู้จากคุณพ่อมนตรี พรหมลักษณ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการและวิทยากรด้วย จากการลงพื้นที่ทำให้ผมรับรู้ถึงปัญหาว่า เกษตรกรหลายคนใช้ปุ๋ยตามอำเภอใจ หรือเลือกปุ๋ยตามคำแนะนำจากร้านค้า โดยขาดความรู้ที่แท้จริง คุณพ่อมนตรีจึงรวบรวมความรู้และประสบการณ์กว่า 40 ปี เขียนเป็นคู่มือถึงวิธีการปลูกข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน  

        

      ส่วนหนึ่งของการบรรยายคุณมนตรีเล่าว่า เกษตรกรไม่ได้ใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน หรือเลือกใช้ปุ๋ยที่มีราคาถูกมากกว่าปุ๋ยที่เหมาะกับต้นข้าว ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ผลผลิตลดลง ต้นทุนสูงขึ้น ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องมีความรู้เรื่องปุ๋ยและความแตกต่างของปุ๋ยแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น ปุ๋ยยูเรียช่วยบำรุงใบ ฟอสฟอรัสช่วยในการแตกกอ โพแทสเซียมบำรงรวงข้าว แต่ฟอสฟอรัสกับโพแทสเซียมเป็นปุ๋ยที่ละลายช้า ดังนั้นไม่ต้องใส่เยอะ หากเกษตรกรมีความรู้เช่นนี้ก็ใช้ปุ๋ยอย่างพอเหมาะ ลดต้นทุนในการทำนาได้

        โดยสัดส่วนที่เหมาะสมก็คือยูเรีย 20 กก. ต่อฟอสฟอรัส 5 กก. ต่อโพแทสเซียม 5 กก. ใส่หลังนาดำประมาณ 10 วันหรือนาหว่าน 1 เดือน แต่ถ้าเป็นช่วงฝนไม่ดี ต้องทะยอยใส่ปุ๋ยละน้อย สำหรับช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้องใช้ยูเรีย 5 กก.ต่อไร่ก็พอ ถ้าใช้เยอะกว่านั้นจะทำให้ข้าวเกิดเชื้อราหรือตายได้ สำหรับพื้นที่ในภาคอีสานนั้นส่วนใหญ่เป็นนาดินทราย การใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 ไม่เหมาะกับนาดินทราย ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องเลือกใช้ปุ๋ยที่เหมาะกับสภาพดิน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี คุ้มค่ากับการลงทุน

          

       โครงการข้าวยั่งยืนต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ในขณะที่ข้าวต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดโลก ข้าวไทยกำลังได้รับความนิยมลดลงเนื่องจากมีราคาสูง ในขณะที่ข้าวจากประเทศคู่แข่ง มีคุณภาพใกล้เคียงข้าวไทยแต่ราคาถูกกว่า เกษตรกรจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีทำนา โดยลดต้นทุน หนึ่งในเคล็ดลับที่คุณพ่อมนตรีบรรยายคือลดการใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะนอกจากทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว ทำให้กบเขียดในท้องนาล้มตาย ยังเป็นต้นทุนให้กับเกษตรกรด้วย คุณพ่อมนตรีจึงให้เกษตรกรตัดต้นข้าวพร้อมกับต้นหญ้าในช่วง 1 เดือนก่อนข้าวตั้งท้อง จะสามารถกำจัดวัชพืชได้โดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าหญ้า

          

         โครงการข้าวยั่งยืน ส่งเสริมให้เกษตรกรลดการใช้ยาฆ่าหญ้า ทำพันธุ์ข้าวเอง ใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี ประหยัดต้นทุน จึงจะสามารถทำให้ข้าวไทยยืนหยัดในเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน




 

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564

กบคืนนา ปลาคืนทุ่ง ข้าวยั่งยืน

 กบคืนนา ปลาคืนทุ่ง ข้าวยั่งยืน 

        ผมลงพื้นที่กับทีมงานข้าวยั่งยืน มีคุณพ่อมนตรี พรหมลักษณ์ เป็นหัวหน้าและเป็นวิทยากรในการลงพื้นที่ด้วย ส่วนหนึ่งของการบรรยายคุณพ่อมนตรีเล่าให้ฟังว่า ข้าวไทยในปัจจุบันเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะจากอินเดียและเวียดนาม แม้ว่าข้าวไทยจะมีคุณภาพสูงกว่าคู่แข่ง แต่หากราคาสูงกว่าคู่แข่งมากข้าวไทยก็จะสูญเสียตลาดในต่างประเทศ ในขณะที่ชาวนามีต้นทุนสูง เนื่องจากราคาปุ๋ยปรับตัวสูงขึ้นมาก ดังนั้นคุณพ่อมนตรี จึงอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยแก่เกษตรกร เพื่อช่วยเกษตรกรลดต้นทุน 

        ข้าวมีความจำเป็นต้องการปุ๋ยยูเรีย แต่หากใส่ปุ๋ยยูเรียเยอะเกินไป จะทำให้ข้าวเป็นโรค ข้าวล้ม หรือข้าวตาย นอกจากจะทำให้ผลผลิตเสียหายแล้ว เกษตรกรยังแบกรับต้นทุนสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นเกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยให้เหมาะสม คุณพ่อมนตรีบอกอีกว่า สำหรับพื้นที่นาในภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นนาดินทราย สูตรปุ๋ยที่เหมาะสมคือ 16-16-8 ในขณะที่เกษตรกรจำนวนมากเคยชินกับการใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ซึ่งไม่เหมาะกับการปลูกข้าว แต่เหมาะกับการปลูกมันสำปะหลัง นอกจากจะไม่ได้ผลผลิตตามที่คาดไว้แล้ว ยังมีต้นทุนที่สูงโดยไม่จำเป็นอีกด้วย 

         ดังนั้นข้าว 1 ไร่ ควรใช้ปุ๋ยยูเรียไม่เกิน 10 กก. ปุ๋ยโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส ไม่เกิน 5 กก. เกษตรกรควรซื้อปุ๋ยยูเรีย 2 กระสอบ และปุ๋ยโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส อย่างละ 1 กระสอบ ต่อข้าว 10 ไร่ จะเป็นการใช้ปุ๋ยเหมาะกับค่าการวิเคราะห์ดิน ได้ผลผลิตดีและประหยัดต้นทุนได้ดีอีกด้วย 

         เมล็ดพันธุ์ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาของเกษตรกร นอกจากจะเป็นต้นทุนแล้วยังไม่เพียงพอต่อความต้องการอีกด้วย คุณพ่อมนตรีจึงโน้มน้าวให้เกษตรกร ทำเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง โดยกันพื้นที่ไว้ส่วนหนึ่งเพื่อทำเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะ เพาะปลูกให้พิถีพิถัน เกี่ยวมือ คัดเลือกพันธุ์ปลอมปนออก เช่นนี้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกปี

       

         นอกจากการใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธีแล้ว การตัดหญ้าก่อนข้าวตั้งท้อง 1 เดือนและใส่ปุ๋ยเพื่อให้ข้าวแตกกอใหม่ ก็เป็นอีกเทคนิคที่ช่วยประหยัดยาฆ่าหญ้าได้อีกด้วย นอกจากจะประหยัดต้นทุนแล้ว ยังสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ ลดโลกร้อน คืนสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับท้องนา ดั่งคำว่ากบคืนนาปลาคืนทุ่ง