การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารเพื่อคนชนบท
International Food Policy Research Institute หรือ IFPRI เปิดเผยว่า การที่สังคมเมืองเติบโตและขยายตัวมากขึ้น ระดับรายได้ที่สูงขึ้น ในขณะที่พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และตลาดอาหารที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา นับเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างรายได้และการจ้างงานในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ในขณะที่ SME ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับคลังสินค้า โลจิสติกส์ การขนส่ง การค้าส่งและค้าปลีก ก็ขยายตัวเป็นอย่างมากเช่นกัน ปรากฏการณ์นี้ Rob Vos และ Andrea Cattaneo เรียกว่า การปฏิวัติเงียบ (Quiet Revolution) หมายถึงกระบวนการเติบโตของห่วงโซ่อุปทานอาหารนั้นอยู่นอกสายตาของผู้กำหนดนโยบาย ทำให้ศักยภาพของห่วงโซ่อุปทานอาหารถูกทิ้งไว้อย่างน่าเสียดาย
นอกจากนั้นประชากรในชนบท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนขนาดย่อมยังประสบความยากลำบากในการเข้าถึงพ่อค้าคนกลางในห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจมากเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องมาจากการขาดแคลนปัจจัยการผลิต ปัญหาที่ดินทำกิน และการใช้ทักษะใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งการขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานและทักษะเหล่านี้ทำให้ห่วงโซ่อุปทานอาหารในแอฟริกาและเอเชียถูกละเลย ได้รับการพัฒนาไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งที่พื้นที่ชนบทเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่มีศักยภาพสูง


นอกจากนี้การยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในชนบท ต้องยกระดับความปลอดภัยทางสังคม (Social Protection) ควบคู่ด้วย ความปลอดภัยทางสังคมตามคำนิยามของ Food and Agriculture Organization (FAO) ให้ความหมายว่า การแทรกแซงเพื่อลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประชากรที่เปราะบาง โดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะยากจนและอดอยาก โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท
- การช่วยเหลือทางสังคม เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน
- การประกันภัยทางสังคม เช่น การช่วยเหลือด้านอาหารแก่ประชากรที่อดอยาก การยกระดับรายได้ และสวัสดิการอื่นๆ
- การคุ้มครองตลาดแรงงาน เช่น การอบรมพัฒนาฝีมือเพื่อรองรับต่อตลาดแรงงาน การมีเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ที่ตกงาน การศึกษาและการสาธารณสุข เป็นต้น
การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารทั้งระบบจึงเป็นอีกแนวทางที่จะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในชนบทได้
References
Vos, R. and Cattaneo, A. (2020). Smallholders and Rural People Making Food System Value Chains Inclusive. Retrieved from http://ebrary.ifpri.org/utils/getfile/collection/p15738coll2/id/133646/filename/133857.pdf July, 3 2020
http://www.fao.org/social-protection/overview/whatissp/en/