KIT UDOM RICE

Premium Quality Rice from Ubon Ratchathani, Thailand.

Premium Grade Hom Mali Rice

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

แนวทางการพัฒนาชนบทแบบ Rurbanomics

แนวทางการพัฒนาชนบทแบบ Rurbanomics                   Rurbanomics คือการเชื่อมโยงสังคมชนบทกับสังคมเมืองด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากคำว่า Rural (ชนบท) Urban (ในเมือง) และ Economics (เศรษฐศาสตร์) ในยุคปัจจุบันพบว่าประชากรในสังคมเมืองมีความต้องการบริโภคอาหารปลอดภัยมากขึ้น ห่วงโซ่อุปทานอาหารมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น หรือที่ Rob Vos และ Andrea Cattaneo เรียกว่า Quiet Revolution หรือการปฏิวัติเงียบ...

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

พัฒนาชนบทอย่างไรให้เข้มแข็ง (2)

พัฒนาชนบทอย่างไรให้เข้มแข็ง (2)          อุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงไก่ในไนจีเรีย เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จในการเชื่อมโยงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสังคมเมืองไปสู่สังคมชนบท ซึ่งสามารถเพิ่มรายได้และการจ้างงานในชนบทได้ ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจและสังคมเมืองของไนจีเรียมีการเติบโตขึ้นอย่างมาก ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรดีขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพื่อสูงขึ้นทั้งในสังคมเมืองและสังคมชนบท...

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

พัฒนาชนบทอย่างไรให้เข้มแข็ง (1)

พัฒนาชนบทอย่างไรให้เข้มแข็ง (1)           Rob Vos และ Andrea Cattaneo เสนอแนวทางในการพัฒนาชนบทให้เข้มแข็ง และได้ประโยชน์จากการเติบโตของสังคมเมือง 3 แนวทาง คือการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐาน การปรับปรุงกฎระเบียบด้านการค้า และอบรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์           ลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งมีความจำเป็นยิ่งในการทำให้ความเชื่อมโยงระหว่างสังคมชนบทและสังคมเมืองเข้มแข็งขึ้น...

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

โอกาสทางเศรษฐกิจของชนบท

โอกาสทางเศรษฐกิจของชนบท          เพื่อให้ประชากรในชนบทได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากสังคมเมือง ชาวชนบทเองก็ต้องปรับวิถีการผลิต ให้สินค้ามีคุณภาพ ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จึงจะสามารถทำให้การผลิตสินค้าเกษตรในสังคมชนบทเชื่อมโยงกับตลาดของสังคมเมืองได้ หากการเชื่อมโยงสามารถเกิดขึ้นได้ ย่อมจะนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคส่วนอื่นๆ เช่น การขนส่ง การผลิต การค้าส่งและค้าปลีก ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างงานสร้างรายได้ในชนบท...

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

อุตสาหกรรมอาหารบนวิถี Rurbanomics

อุตสาหกรรมอาหารบนวิถี Rurbanomics                ตั้งแต่ทศวรรษปี 1990 เป็นต้นมาแม้ว่าพัฒนาการอุตสาหกรรมจะเติบโตและก้าวไกลไปมาก แต่จำนวนประชากรที่มีฐานะยากจนกลับเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท นั่นหมายความว่าประชากรในชนบทไม่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของสังคมเมือง หลายคนเพื่อหลีกหนีจากความยากจนผันตัวเป็นแรงงานในสังคมเมือง แต่ก็ไม่ได้ทำให้รายได้เพิ่มสูงขึ้น ผู้ที่เผชิญกับความยากจนเช่นนี้...

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารเพื่อคนชนบท

การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารเพื่อคนชนบท            International Food Policy Research Institute หรือ IFPRI เปิดเผยว่า การที่สังคมเมืองเติบโตและขยายตัวมากขึ้น ระดับรายได้ที่สูงขึ้น ในขณะที่พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และตลาดอาหารที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา นับเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างรายได้และการจ้างงานในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ในขณะที่ SME ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับคลังสินค้า โลจิสติกส์ การขนส่ง การค้าส่งและค้าปลีก...

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563

บทเรียนจาก Rurbanomics

บทเรียนจาก Rurbanomics            การฟื้นฟูสังคมชนบทต้องเข้าใจปัญหาของแต่ละพื้นที่ แต่ละชุมชนมีความต้องการที่แตกต่างกัน จึงต้องการการพัฒนาที่ต่างกันด้วย อาทิเช่น ในทวีปแอฟริกาต้องการพัฒนาด้านเกษตรกรรม ในเอเชียใต้ต้องกระจายความเจริญสู่ชนบท เพื่อเพิ่มการจ้างงานในชนบทและลดการอพยพเข้าเมือง สำหรับจีนนั้นต้องปรับปรุงการพัฒนาชนบทเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมชนบทเพื่อดึงดูดให้คนหนุ่มสาวทำงานในชนบท...

ลดความเหลื่อมล้ำด้วย Rurbanomics

ลดความเหลื่อมล้ำด้วย Rurbanomics        การฟื้นฟูสังคมชนบทด้วยวิถี Rurbanomics ไม่เพียงแต่เป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมเท่านั้น แต่ยังพลิกฟื้นพื้นที่ชนบทให้เป็นพื้นที่ที่น่าอยู่อีกด้วย เพื่อให้คนหนุ่มสาวมีความหวัง สามารถเติบโตและเข้มแข็งต่อไป โดยไม่ต้องอพยพเข้ามาในสังคมเมือง ซึ่งจะเป็นการลดความแออัดและกระจายความเจริญสู่สังคมชนบทอีกด้วย แต่การจะฟื้นฟูสังคมชนบทได้นั้นต้องลงทุนสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจของสังคมชนบท ...

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

Rurbanomics วิถีใหม่แห่งการพัฒนา

Rurbanomics วิถีใหม่แห่งการพัฒนา       Rurbanomics คือการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมชนบทให้เชื่อมโยงกับการเติบโตของสังคมเมือง ในฐานะที่เป็นพาร์ทเนอร์ที่เท่าเทียมและพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งแนวทางการพัฒนาตามวิถี Rurbanomics แบ่งออกเป็น 4 ด้าน      1. เอาใจใส่ความต้องการของสังคมชนบท      2. พัฒนาทรัพยากรท้องถิ่น และสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงสังคมชนบทกับสังคมโลก โดยอยู่บนหลักการของความหลากหลายและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ  ...

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ฟื้นฟูภาคชนบทด้วยวิถี Rurbanomics

ฟื้นฟูภาคชนบทด้วยวิถี Rurbanomics        การฟื้นฟูภาคชนบท (Rural Revitalization) คือการพัฒนาพื้นที่ชนบทในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตร ให้มีความปลอดภัย ยั่งยืน และเปลี่ยนภาคชนบทให้เป็นพื้นที่ที่น่าอยู่ เพื่อลดความแออัดในตัวเมือง ปัจจุบันพบว่าเศรษฐกิจในตัวเมืองขยายตัวมากขึ้น ประชากรที่อาศัยในตัวเมืองมีรายได้ที่มากขึ้น ในขณะที่ประชากรในภาคชนบทกลับทิ้งถิ่นฐานเพื่อไปหาโอกาสที่ดีกว่าในเมืองใหญ่ จึงเป็นโจทย์ที่ว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ภาคชนบทได้รับประโยชน์จากการเติบโตของตัวเมือง...

Rurbanomics การพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน

 Rurbanomics การพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน           รายงานของ The International Food Policy Research Institute (IFPRI) ระบุว่าภาคในเมืองมีการเติบโต ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโลกอาศัยอยู่ในตัวเมือง ในขณะที่ ภายในปี 2050 ประชากรกว่า 2 ใน 3 ของทั้งโลกจะกลายเป็นคนเมือง สวนทางกับภาคชนบทที่ปัจจุบันนี้มีประชากรประมาณ 45.3% ของประชากรทั้งโลกอาศัยอยู่ในภาคชนบท ซึ่งในจำนวนนี้มีประชากรมากถึง 70% ที่อยู่ในสถานะยากจนเป็นอย่างยิ่ง ...